การป้องกันผื่นผ้าอ้อม
![]() |
ป้องกันผื่นผ้าอ้อมด้วย Supersober |
ผื่นผ้าอ้อมในเด็กเล็กรวมถึงเด็กโต เป็นเรื่องปกติ สำหรับเด็ก แม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่ใช้ผ้าอ้อม เนื่องการอับชื้น การระคายเคือง การระบายอากาศไม่เพียงพอ แต่สิ่งที่น่ากังวลใจ ในรายที่อาการรุนแรง
ผื่นผ้าอ้อม (Diaper Rash, Diaper Dermatitis) คือ ผื่นที่เกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อมจะเกิดผื่นแดง ต่อมา อาการแดงลามเป็นมากขึ้นจนผิวหนังอักเสบเป็นแผลและติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
ถึงแม้ว่า ผื่นผ้าอ้อม อาจจะไม่ได้เกิดจากตัวผ้าอ้อมโดยตรง แต่เกิดเนื่องจากผลของการใช้ผ้าอ้อม ได้แก่ ความร้อน ความอับและเปียกชื้น เหงื่อที่ผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระที่ติดอยู่ที่ผ้าอ้อม เมื่อผิวหนังเปียกชื้นตลอดเวลาจะทำให้ผิวหนังของทารกและเด็กเล็กซึ่งบางและอ่อนนุ่มเกิดการระคายเคือง เปื่อยเป็นแผลและติดเชื้อจนเกิดการอักเสบได้ง่ายกว่าเด็กโต
การปล่อยให้ทารกและเด็กแช่อยู่ในผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเวลานานเกินไป แบคทีเรียในอุจจาระจะไปย่อยสารอาหาร สารยูเรียในปัสสาวะสลายตัวเป็นแอมโมเนียซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและทำให้ผิวหนังมีความเป็นด่างแล้วไปกระตุ้นให้เอ็นไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน (Protease) และไขมัน(lipase) ที่มีอยู่ในอุจจาระทำงาน ซึ่งจะยิ่งทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นระคายเคืองจากกรดน้ำดี (bile acid ) มากขึ้น ผิวหนังจึงเกิดผื่นแดงเป็นผื่นผ้าอ้อม
อาการผื่นผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อม มักเกิดบริเวณขาอ่อนด้านในโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงซอกเนื้อ ข้อพับ ขาหนีบ และอาจเกิดผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศและอาจมีผื่นขึ้นเกือบรอบบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม
ลักษณะผื่นผ้าอ้อม ผื่นแดงๆและแฉะ บางคนอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนผิวหนังเปื่อยเป็นแผลมีน้ำเหลืองเยิ้ม
- ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นหนองได้
- ถ้ามีการติดเชื้อราลักษณะของผื่นจะมีทั้งแบบผื่นแดง ปื้นแดง โดยจะมีสีแดงชมพูและเห็นขอบผื่นชัดเจน หรือผื่นมีหนังลอกออกเป็นแผ่นๆ (Scale) และลักษณะทีบ่งชี้ว่าเป็นการติดเชื้อราคือมักพบผื่นเล็กๆ ที่กระจายออกไป เหมือนมีการลามของผื่นออกไปเป็นวงๆ (Satellite lesion)
การป้องกันผื่นผ้าอ้อม
- หยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยๆ (ทุก 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ)
- เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่าง เช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีมหรือ Ointment ที่มี Zinc Oxide หรือ Vaseline เพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูก เพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อน แป้งชื้นๆแฉะๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
- หากเด็กเป็นผื่นผ้าอ้อมบ่อยหรือรุนแรง ควรพาไปพบแพทย์
ผื่นผ้าอ้อมสามารถลดลงได้ด้วยแผ่นรองซับน้ำ Supersorber
- เมื่อน้ำซึมผ่าน ผิวด้านบนสุดซึ่งเป็นผ้านุ่มและแห้งเร็ว ไม่ระคายผิวหนัง น้ำจะถูกดูดซับไว้กับแผ่นผ้าชั้นที่สองที่เป็น Super Liquid Absorber ซึ่งชั้นนี้จะมี Antibacteria ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยมีผ้าชั้นที่ 3 เป็น Liquid Sealed Multi-coating เป็นชั้นป้องกันการรั่วซึมของน้ำไปด้านข้างและที่นอน และมีชั้นที่ 4 เป็นชั้นล่างสุดเป็นชั้นที่ห่อหุ้ม ป้องกันการเสียรูปทรงของแผ่นรองซับน้ำ Supersorber
- ปริมาณน้ำที่รับได้ของ แผ่นรองซับน้ำ ประมาณ 2 ลิตร เว้น แผ่นรองซับน้ำ Supersorber เด็กเล็กและชนิด Seat Pad ที่รับน้ำได้ไม่เกิน 0.3 ลิตร
- สามารถนำกลับมาใช้งานได้ โดยการซักด้วยมือหรือเครื่องซักผ้า
- มีอายุการใช้งาน 1 ปี ครึ่ง ถึง 2 ปี
- Double Click ที่นี่ เพื่อการเลือกใช้งาน Supersorber ที่เหมาะสม
- Double Ckick ที่นี่ เพื่อดูรายละเอียด Supersorber แต่ละประเภท
Author; Csingha, B Phram, MPA
ผื่นผ้าอ้อม, ป้องกันผื่นผ้าอ้อม ,ผื่นในเด็ก, ผ้าอ้อม
Goldenslot เว็บสล็อตจากการเสิร์ชอันดับ 1 ท่านสามารถเข้าไปร่วมสนุกกันได้ที่เว็บไซต์ ทางเข้า โกลเด้นสล็อต สนุกกับการเล่นเกมส์ได้ที่ Goldenslot ฟรี