แผลกดทับ สาเหตุ การดูแลผู้ป่วยและป้องกันการเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับ หมาย ถึง การฉีกขาดของผิวหนัง หรือแผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากบริเวณนั้นต้องถูกกดอยู่นานๆ ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงได้น้อยกว่าปกติผิวหนังจะขาดอาหารและออกซิเจนจนในที่ สุดเนื้อเยื่อจะตายเกิดเป็นแผล
แผลกดทับ เกิดได้กับบุคคลที่นอนอยู่ในท่าเดียวนานๆ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียมากๆ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่ขาดอาหาร และผู้ป่วยที่การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี บริเวณที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีหนังหุ้มกระดูก ตามปุ่มกระดูก เช่น ผู้ที่นอนหงายท่าเดียวนานๆ จะพบแผลกดทับที่บริเวณ กระดูกส้นเท้า กระดูกก้นกบ ข้อศอก สะบัก เป็นต้น หรือผู้ที่นอนตะแคงท่าเดียวนานๆ จะพบแผลกดทับที่ตุ่ม สันตะโพก ต้นแขน หู เป็นต้น
เมื่อผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและมีการแตกทำลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมา ซึ่งการรักษาที่ยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยด้วย
ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ( Braden Scale for Predicting Pressure Ulcer Risk.) มี 6 ปัจจัยหลัก (สามารถแยกย่อยได้อีก) คือ
1.Sensory perception (ขอไม่แปล ขอให้อ่านตอนต้น ก็จะเข้าใจ)
2.Moisture (ความชื้น)
3.Activity (ความตื่นตัว)
4.Mobility (การเคลื่อนไหว)
5.Nutrition (อาหาร)
6.Friction and Shear (แรงกดและแรงเฉือน)
สภาพอายุที่มากขึ้นชั้นไขมันใต้ผิวหนังบางลง ผิวหนังเปราะบางฉีกขาดได้ง่าย ผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องในการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยอัมพาต อ้วนเนื้อเยื่อชั้นไขมันมากทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ผอมทำให้เกิดแรงกดของเนื้อเยื่อบริเวณปุ่มกระดูกมากขึ้น ขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน ภาวะโรค เบาหวาน ไตวาย มะเร็ง
แรงกดจะขัดขวางออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ถ้าผู้ป่วยไม่มีการเคลื่อนไหวจะมีผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยงโดยเฉพาะ บริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ จะเกิดแรงกดมากขึ้น
แรงเลื่อนไหลหรือแรงเฉือน เป็นแรงที่ผู้ป่วยนั่งหรือนอน เลื่อนไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นเสียไป
แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดจากผู้ป่วยสัมผัสกับพื้นผิวด้านนอกเกิดการ ถลอกของผิวหนัง เช่นการเลื่อนผู้ป่วย โดยการดึงลากทำให้ผิวหนังถลอกเป็นแผล
ความเปียกชื้นของเหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระทำให้ผิวหนังเปื่อยได้ง่าย
การป้องกันและการดูแลแผลกดทับ
การจัดท่านอน
· ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่รับแรงกดนานเกินไป ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายใน 30 นาทีอาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยนท่านอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับกันไป
การนอนตะแคง ควรจัดให้นอนตะแคง กึ่งหงาย ใช้หมอนยาวรับตลอดแนวลำตัว รวมทั้งบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า ควรทำให้สะโพก ทำมุม 30 องศา และใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูก และใบหู
การนอนหงาย ควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า ตาตุ่มทั้ง 2 ข้าง ขา 2 ข้าง และรองใต้น่องและขาเพื่อให้เท้าลอยพ้นพื้นไม่กดที่นอน
การจัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าจำเป็นศีรษะสูงเพื่อให้อาหาร หลังจากให้อาหาร 30 นาที - 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา
กรณีที่นั่งรถเข็น ควรให้มีเบาะรองก้น และกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัว หรือยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 30 นาที
การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด
อุปกรณ์ลดแรงกดอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำจาก เจล โฟม ลม น้ำ หมอน เป็นต้น
อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ
การดูแลผิวหนัง
- ผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หลังทำความสะอาดร่างกายควรทาโลชัน 3-4 ครั้ง / วัน เพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง
- ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ที่มีการขับถ่าย และซับให้แห้งอย่างเบามือ
- ทาวาสลีน (Vaseline) หรือ Zinc paste ให้หนาบริเวณผิวหนังรอบๆทวารหนัก แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้น
- ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการออกกำลังกาย
- ระวังอุบัติเหตุที่เกิดกับผิวหนัง เช่น การกระแทก ของมีคม เป็นต้น
- จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
- หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูกโดยเฉพาะที่มีรอยแดง จะทำให้การไหลเวียนลดลง
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนประคบบริเวณผิวหนังที่มีความรู้สึกน้อย หรืออ่อนแรง
- ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงเสมอ เพื่อลดความเปียกชื้นและลดแรงเสียดทาน
- จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อ และปมผูกต่างๆเพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนัง
- ไม่นวดหรือใช้ความร้อนประคบหรือใช้สบู่กับผิวหนังที่มีรอยแดง
- ไม่ใช้ห่วงยางเป่าลมรองบริเวณปุ่มกระดูกเพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงได้ ไม่ดีทำให้เกิดแผลได้ และไม่ควรใช้ถุงมือใส่น้ำรองบริเวณปุ่มกระดูก เพราะอาจแพ้ยางได้
ระดับแผลกดทับและการดูแลแผล
ระดับ 1 ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด แต่เป็นรอยแดงกดบริเวณรอยแดงไม่จางหายภายใน 30 นาที ดูแลโดยมีการป้องกันแรงเสียดทานแรงกดทับโดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น หมอนเจล ที่นอนลมกันแผลกดทับ, เปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง ทาโลชันหรือครีมในผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้ง ดูแลผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว
ระดับ 2 ผิวหนังส่วนบนหลุดออก ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อ รอบๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อย หรือปานกลาง ดูแลเหมือนระดับที่ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้มีแผลเพิ่ม เช็ดรอบๆแผลด้วย Alcohol 70 % และใช้silver sulfadiazine ปิดด้วยผ้าก็อส ใช้วาสลีนทาผิวหนังรอบแผลเพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้เกิดการเปียกแฉะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา Povidone Iodine เช็ดแผล
ระดับ 3 มีการทำลายผิวหนังถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก อาจมีกลิ่นเหม็น
ระดับ 4 มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก มีกลิ่นเหม็น
แผลกดทับระดับที่ 3, 4 ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการ การเลือกใช้วัสดุในการใส่
แผลให้ถูกต้องเหมาะสมในแผลแต่ละชนิด
การป้องกันแผลกดทับเป็นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับได้ เมื่อเกิดแผลกดทับขึ้น การดูแลที่เหมาะสมไม่ให้แผลลุกลาม การลดแรงกดที่เหมาะสมรวมทั้งการดูแลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะทำให้แผลกดทับหายได้เร็วขึ้น
Ref: http://pni.go.th
http://www.doctor.or.th
About Author; Csingha, websmaster, B.Pharm, MPA (Public Policy)
Goldenslot
ทางเข้า Goldenslot
Slotxo
ทางเข้า Slotxo
PGSlot
ทางเข้า PGSlot